Tag Archives: โคมไฟ LED

1. ประหยัดเงิน!

หลอดไฟแอลอีดี เป็นหลอดไฟที่ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาดทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเงินค่าไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 15-75% แล้วแต่ชนิดของหลอดเดิม

 

2. ไม่มีแสง UV

หลอดไฟประเภทแอลอีดี ที่เป็นที่นิยมใช้ในยุโรปและประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมด จะไม่มีแสง UV ปลดปล่อยออกมาเลยแม้แต่น้อย เมื่อเทียบกับหลอดไฟนีออน ที่จะมีแสง UV ปล่อยออกมาพร้อมกับแสงสว่างที่เกิดขึ้น นอกจากรังสี UV นี้จะมีผลต่อผิวหนังมนุษย์แล้ว ยังมีผลกระทบต่อสินค้าที่โดนแสงอย่างต่อเนื่องยาวนานอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ศูนย์แสดงรถยนต์ที่จะต้องฉายแสงไฟต่อเนื่องไปยังผิวรถเพื่อให้เกิดความเงางามสะท้อนแสงไฟ แต่นั่นก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อสีรถได้ เป็นต้น

 

3. ไม่ร้อน

ในขณะที่หลอดไฟแอลอีดี แทบจะไม่ปล่อยความร้อนออกมาเลย หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้ตามบ้านเรือนนั้น จะมีการปล่อยความร้อนออกมาอยู่ในระดับ 70-90 องศาเซลเซียสในขณะใช้งาน หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือ หลอดฮาโลเจน (halogen) จะปล่อยความร้อนออกมาถึง 150-200 องศาเซลเซียส!!

คิดดูสิคะว่าเราต้องเสียค่าไฟไปมากเท่าไรกับพลังงานความร้อนที่เราไม่ต้องการ การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแอลอีดีจะทำให้อาคารสำนักงานต่างๆ ลดค่าไฟที่ต้องใช้ในระบบปรับอากาศลงได้ค่ะ

4. หลอดไฟ LED ทนต่อการสั่นสะเทือน

สินค้าหลายตัวได้เลือกใช้แอลอีดีเพื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากกินไฟน้อย ประหยัดกว่า และยังทนต่อการสั่นสะเทือนได้อีกด้วย เช่น ลิฟต์ จะติดไฟประเภทแอลอีดี เพราะลิฟต์มีเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา การใช้หลอดไฟแอลอีดีทำให้ลดโอกาสการเสียของหลอดไฟได้มากขึ้น ไม่ต้องมีเปลี่ยนหลอดไฟถี่เท่าเดิม

5. แสงจากหลอดไฟ LED ไม่กระพริบ

หลอดไฟฟูออเรสเซ้นต์แบบเดิมนั้นจะมีการกระพริบของแสงที่ความถี่ของการกระพริบ 50 Hz. คนงานและพนักงานประมาณ 10-30% มีปฏิกิริยากับการกระพริบของแสงเหล่านี้ โดยอาการที่เกิดเช่น อาการปวดหัว ปวดตา เมื่อมองชิ้นงานภายใต้แสงนีออนต่อเนื่องหลายชั่วโมง และหากพนักงานเหล่านั้นอยู่ในสายการผลิตก็อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อ อัตราประสิทธิภาพในการทำงานได้ด้วยเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดีหลอดไฟนีออนที่มีการกระพริบระดับ 100 Hz ก็ยังมีขายอยู่แต่นั้นไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาผลกระทบต่อตัวพนักงานไปเสียทั้งหมดอยู่ดี

แต่จากการวัดหลอดไฟแอลอีดี ที่ใช้ Driver คุณภาพสูง หลอดไฟแอลอีดี จะสามารถแสดงผลการกระพริบได้ถี่มากกว่า 400 Hz โดยประมาณ ซึ่งก็เป็นความถี่เกินกว่าที่สายตาจะรับรู้ได้ พนักงานที่อยู่ภายใต้แสงประเภทนี้รับรู้ได้ว่าแสงที่กระทบเข้าตาเป็นแสงที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น เหมาะสมในการทำงานที่ต่อเนื่อง และยังผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอีกด้วย

6. ออกแบบทิศทางของแสงจากหลอดไฟ LED ให้หมาะสมกับรูปแบบโคมได้

เนื่องจากแอลอีดี จะมีทิศทางการส่องสว่างแบบเป็นท่อ ไม่ได้กระจายออกทุกทิศทางเช่นเดียวกับหลอดฟลูออเรสเซนท์ ทำให้สามารถออกแบบตัวหลอดให้เหมาะสมกับโคม โดยไม่ปล่อยแสงไปในทิศทางที่ไม่ต้องการได้ ตัวอย่างเหมือนกับภาพด้านล่างนี้

เปรียบเทียบ LED กับหลอดไฟแบบเดิม 

เห็นประโยชน์ดีๆ แบบนี้แล้ว ใครสนใจอยากรู้วิธีเลือกหลอดแอลอีดีเชิญทางนี้เลยค่า >> LED : จะเลือกหลอดอย่างไร?

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ECOTECH

ร้อยกว่าปีนับจากเอดิสันผลิตหลอดไฟดวงแรก วิวัฒนาการของหลอดไฟก็ก้าวไกลจากไส้หลอดคาร์บอนมาสู่หลอดไฟ LED แม้เจ้าหลอดไฟจิ๋วๆ เหล่านี้อาจจะไม่ใช่ของใหม่ที่แปลกหูแปลกตาของคนไทยอีกต่อไป บ้านที่สร้างใหม่ๆ อาจมีการนำเจ้าไฟ LED มาใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนส์บ้างแล้ว หากแต่หลายคนก็ยังรู้สึกไม่คุ้นเคย ไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของมันมากนัก

วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดี เรามาทำความรู้จักกับเจ้าหลอดไฟ LED ให้มากขึ้นกันเถอะค่ะ

LED โคมไฟติดเพดาน

LED มีดีอะไร ?

1. ปลอดภัยไร้สารพิษ

ในขณะที่หลอดฟลูออเรสเซนต์มีการเคลือบสารไตรฟอสเฟอร์และสารปรอทอยู่ภายใน หากหลอดไฟชำรุดเสียหายก็มีโอกาสที่สารดังกล่าวจะเล็ดลอดออกมาเป็นอันตรายกับมนุษย์ได้ค่ะ แต่หลอดไฟ LED ไม่มีปัญหาดังกล่าว ทำให้ง่ายต่อการรีไซเคิลวัสดุมาใช้ซ้ำโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เริ่ดใช่ไหมล่ะคะ

2. ไม่ร้อน

แม้ไม่ต้องเปิดไฟ ประเทศไทยก็ร้อนจะเป็นจะตายอยู่แล้วค่ะ เจ้าหลอดไฟ LED นี้มีข้อดีอันสำคัญยิ่งอยู่หนึ่งอย่างก็คือ ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมาก นั่นหมายความว่าบ้านไหนใช้ไฟ LED ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟในยามเปิดเครื่องปรับอากาศไปได้อีกมากโข

3. อายุยืน ใช้ได้ยาว

หลอดไฟ LED มีอายุการใช้ขั้นต่ำอยู่ที่ 25,000 ชั่วโมง ส่วนหลอดฟลูออเรสเซนส์ 16,000 – 20,000 ชั่วโมงเท่านั้น (สินค้าแต่ละยี่ห้ออาจมีคุณสมบัติต่างกัน ก่อนซื้ออย่าลืมดูฉลากนะคะ)

4. ถึก! ทนทาน!

หลอดไฟ LED สามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือน หรือกระทบกระแทกได้มากกว่าหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ แม้จะสามารถแตกได้เช่นเดียวกัน แต่ก็เปราะน้อยกว่า จึงเหมาะกับการติดตั้งในรถ ในลิฟท์ หรือบริเวณที่มีการสั่นไหวอยู่เสมอค่ะ

สำหรับใครที่กำลังชั่งใจว่าจะเปลี่ยนใจจากหลอดฟลูออเรสเซนส์อันคุ้นเคย มาทดลองหลอดไฟนวัตกรรมใหม่ที่ใครๆ ก็กล่าวถึงตัวนี้ แต่ยังรู้สึกไม่มั่นใจแล้วล่ะก็ ลองมาดูตัวอย่างสินค้าจริง จับจริง ลองจริง เล่นจริง ได้ที่ร้านของเราเลยค่ะ :D

โคมไฟ LED

 

โคมไฟจากแก้วพลาสติก (my home)
คอลัมน์ my handy
เรื่อง อุ้ม เชาวนปรีชา
ภาพ/สไตล์  อุ้ม เชาวนปรีชา,  ยศวัฒน์ เกษมถิรกุล

ใครนึกสนุกอยากทำ โคมไฟ ใช้เองบ้างครับ วันนี้ผมอาสามาสาธิตการทำ โคมไฟ ในราคาประหยัด ในรูปแบบที่ผมถนัด ด้วยวิธีการไม่ยากตามหลักพื้นฐานการต่อวงจรไฟฟ้าที่เรา ๆ เคยเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์สมัยเด็ก ๆ นั่นล่ะครับ ค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ผมรับรองว่าคุณผู้อ่านจะสนุกและติดใจแน่ ๆ ครับ

โคมไฟ LED

 

อุปกรณ์

1. ปืนกาว หัวแร้ง และคีมหนีบ

2. แก้วพลาสติก ซื้อจาก Tops จำนวน 3 แพ็ค (ถ้าทำสองโคม ใช้ 5 แพ็ค)

3. คลิปหนีปกระดาษขนาด ราคากล่องละ 144 บาท จำนวน 2 กล่อง

4. หลอด LED 7 สี พร้อม resister และสายไฟ 20 ตัว

5. หม้อแปลงไฟ

– หม้อแปลงไฟ 12 โวลท์ (แปลงจาก 220v เป็น 12v) 1 ตัว ตัดปลายสายออก

– ที่หนีบสายไฟสีดำ, แดง อย่างละ 1 ตัว ต่อที่ปลายสายหม้อแปลง

6. หลอดไส้ 25 วัตต์ 1 หลอด พร้อมขั้วหลอด

7. สายไฟขนาดต่าง ๆ และเทปพันสายไฟ

– สายไฟเส้นเล็กสำหรับ LED 12v ขายเป็นมัด คละสี มัดละ 5-10 บาท

– สายไฟบ้าน อย่างน้อย 1 เมตร

8. หัวปลั๊ก

– หัวปลั๊กตัวผู้ 1 ตัว

– หัวปลั๊กตัวเมีย 2 ตัว

9. ไฟคริสมาสต์แบบที่เป็น LED 1 เส้น หรือไฟดาวตก

10. ฐานไม้อัด (หนา 14 มิลลิเมตร) สั่งตัด ทาสีเตรียมไว้ให้เรียบร้อย

โคมไฟ LED

 

ขั้นตอนการทำ

1. เจาะรูบริเวณกึ่งกลางด้านก้นแก้วด้วยหัวแร้ง ให้ความกว้างของรูพอดีกับขนาดของหลอด LED

2. นำแก้วมาเรียงต่อกันบนพื้นระนาบ ใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบบริเวณที่ปากแก้วให้ชนกัน ติดไปเรื่อยๆจนแก้วต่อกันเป็นวงกลม (ใช้แก้วประมาณ 26-28 ใบ)

3. ติดแก้วชั้นที่ 2 เรียงแก้วบนรอยต่อของแก้วแถวล่าง โดยวางแก้ว 1 ช่องเว้น 1 ช่อง จนครบรอบวง

4. ติดแก้วชั้นต่อ ๆ ไปโดยเรียงแก้วบนช่องที่ได้ขนาดไปเรื่อย ๆ จนเป็นรูปทรงโดม

5. ปลดขาคลิปหนีบกระดาษออกทั้งหมด

โคมไฟ LED

 

6. ติดไฟด้านในโดม

6.1 พลิกด้านโดม กำหนดจุดที่จะติดหลอด LED 7 สี ไว้ 20 จุด ให้กระจายไปทั่ว ๆ โคม นำหลอด LED เสียบลงในรู ยึดด้วยปืนกาวให้แน่น

6.2 ต่อสายไฟ LED แบบขนาน เชื่อมสายขั้วบวกกับสายขั้วบวก สายขั้วลบกับสายขั้วลบ (ในกรณีนี้คือ เชื่อมสีเดียวกันเข้าด้วยกัน) โดยต่อเรียงทีละหลอดจนครบทุกหลอด พันเก็บสายไฟให้เรียบร้อย ยกเว้นหลอดแรกไม่ต้องพัน

6.3 นำไฟคริสมาสต์เสียบลงในรูที่เหลือจนครบทุกรู จำนวนหลอดไฟคริสมาสต์อาจมีมากกว่าจำนวนแก้ว ไฟที่เหลือให้พันซ่อนไว้ภายในโคม

6.4 ต่อสายหม้อแปลงไฟกับ LED โดยใช้ที่หนีบสายไฟหนีบกับสายของ LED หลอดแรก หากไฟไม่ติดให้ลองสลับขั้วตัวหนีบดู

โคมไฟ LED

 

7. ต่อหลอดไฟบ้านและวงจรสวิตช์ ขั้นตอนนี้หากไม่ชำนาญด้านวงจรไฟฟ้าแนะนำให้ปรึกษาช่างครับ

8. ติดหลอดไฟบนกึ่งกลางของฐานไม้อัดที่สีแห้งแล้ว เดินสายไฟและใส่แผงสวิตช์ลงในช่องที่เจาะไว้

9. ลองเสียบปลั๊ก เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โคมไฟ LED

 

Tips

–     ใช้ไฟดาวตกแทนไฟคริสมาสต์จะได้ความรู้สึกโรแมนติกมากกว่า

–     วางโคมลงบนฐานไม้โดยไม่ต้องทำการยึดติด เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนหลอดไฟ

–     ถ้าซื้อไม้อัดเต็มแผ่น ไม้จะเหลือพอทำฐานโคมไฟขนาดสูง 120 เซนติเมตร ได้อีก 1 ชุด

ลองทำกันดูนะครับ อาจดูยุ่งยากนิดหน่อยแต่เมื่อทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผมว่าคุณจะภาคภูมิใจและไม่แน่อาจเกิดไอเดียต่อยอดทำ โคมไฟ ดีไซน์ต่าง ๆ ได้อีกนะครับ

 

Credit by : http://home.kapook.com/view47507.html

โคมไฟ

 

Vazon Magnum กระถางต้นไม้ 2 in 1 ที่เป็นได้ทั้งกระถางปลูกต้นไม้และโคมไฟนี้ คือผลผลิตจากไอเดียกรีนๆ ของแบรนด์ Rotoluxe ซึ่งออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยใช้หลอดไฟ CFL/LED กำลัง วัตต์ต่ำ แต่สามารถให้แสงสว่างแก่บริเวณโดยรอบ เราจึงสามารถนำกระถางนี้ไปแขวนแทน โคมไฟ หรือนำไปวางไว้ตามจุดต่างๆ ของสนามหญ้าในบริเวณบ้านได้  ทำให้ได้ โคมไฟ สุดเก๋จากธรรมชาติอีกด้วย

โคมไฟ

 

Vazon Magnum ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล 100%  เพียงแค่เสียบปลั๊กไฟก็สามารถเปลี่ยนกระถางต้นไม้ธรรมดาๆ ให้กลายเป็น โคมไฟ ได้แล้ว และเนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าต่ำจึงไม่ต้องกังวลกับตัวเลขในบิลค่าไฟ หรือหากใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จซ้ำได้ ก็สามารถใช้งานได้ยาวนาน 8-10 ชั่วโมง เลยทีเดียว

 

Credit : By
http://www.annisaa.com/forum/index.php?topic=2069.0